ไวรัสตับอักเสบบีสามารถทำให้เกิดการอักเสบของตับแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรังได้ ไวรัสตับอักเสบบีเป็นสาเหตุของโรคตับแข็ง และมะเร็งตับที่สำคัญของโลก อย่างไรก็ดี ปัจจุบันเรามีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ และลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะเกิดตามมา
เชื้อไวรัสตับอักเสบบีคืออะไร ?
เชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็น double-stranded DNA virus ใน Family Hepadnaviridae, Genus Orthohepadnavirus เป็นสาเหตุที่ท าให้เซลล์ตับเกิดการอักเสบ และการอักเสบจะทำให้เซลล์ตับตาย หากเป็น เรื้อรังจะเกิดพังผืด ตับแข็ง และมะเร็งตับได้โรคนี้มีคนเป็นแหล่งรังโรค เชื้อไวรัสจะอยู่ในเลือดและสารคัดหลั่ง ต่าง ๆ ของผู้ป่วยหรือผู้ที่เป็นพาหะ และสามารถถ่ายทอดเชื้อไปยังผู้อื่นผ่านทางเลือด การมีเพศสัมพันธ์ การใช้ ของมีคมร่วมกันระหว่างบุคคล เด็กแรกเกิดสามารถติดเชื้อจากมารดาที่เป็นพาหะได้ในขณะคลอดหรือในระยะ หลังคลอด เชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีระยะฟักตัวเฉลี่ยประมาณ 75 วัน (30-180 วัน) เชื้อสามารถแบ่งตัวได้ภายใน 30-60 วันหลังจากที่ได้รับเชื้อ ซึ่งเชื้อยังอยู่ในร่างกายและสามารถพัฒนาเป็นโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี
แบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ
ระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 1-4 เดือนหลังติดเชื้อ ซึ่งจะมีอาการดังนี้อาการไข้ ตัวเหลืองตาเหลือง ปวดท้องใต้ชายโครงขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสียและอาเจียน อ่อนเพลีย ผื่น ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง เกิดจากการที่เซลล์ตับถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ในกรณีนี้อาจทำให้เกิดภาวะตับวายได้อาการตับอักเสบระยะเฉียบพลันจะดีขึ้นใน 1-4 สัปดาห์ และจะหายเป็นปกติเมื่อร่างกายสามารถกำจัดและควบคุมเชื้อไวรัสตับอักเสบได้ ซึ่งมักใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน แต่ผู้ป่วยส่วนน้อย (5-10%) ไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้หมด ทำให้ผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง
ระยะเรื้อรัง แบ่งผู้ป่วยได้เป็น 2 กลุ่มคือ
พาหะ คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ผลการตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ตับอักเสบเรื้อรัง คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย และตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ
ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่มีอาการ บางรายอาจมีอาการอ่อนเพลียหรือเบื่ออาหารได้ การติดเชื้อแบบเรื้อรัง พบบ่อยในเด็กที่ติดเชื้อตั้งแต่แรกเกิดและยังเป็นอันตรายที่อาจนำไปสู่ ตับแข็ง มะเร็งตับ และเสียชีวิตในที่สุด
ผู้ที่ควรฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
ทารกแรกเกิด เด็ก และวัยรุ่นที่ไม่ได้รับวัคซีนเมื่อแรกเกิด
ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่ทำงานในสถานพยาบาล
ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไต
ผู้ป่วยที่ได้รับเลือดบ่อย ๆ
ผู้ที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเนื่องจากปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมทางเพศ เช่น รักร่วมเพศ มีคู่นอนหลายคน
ผู้ที่สามารถรับวัคซีนไวรัสตับอักเสบ B
เริ่มฉีดได้ตั้งแต่แรกเกิด
ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน
วัคซีนไวรัสตับอักเสบ B ฉีดกี่ครั้ง ?
ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบ B ทั้งหมด 3 ครั้ง
ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 1 – 2 เดือน
ครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งแรก 6 เดือน
วิธีป้องกันตนเองจากไวรัสตับอักเสบบี
ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรตรวจเช็คตับปีละ 1 ครั้ง และตรวจคัดกรองมะเร็งตับเป็นระยะ
ควรฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบ หากร่างกายยังไม่มีภูมิคุ้มกัน
ไม่ควรรับประทานยาพร่ำเพรื่อติดต่อกันเป็นเวลานาน หากไม่ได้อยู่ในความดูแลของแพทย์
งดดื่มแอลกอฮอล์
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานโรค
มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
วิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี คือ การให้วัคซีนก่อนการสัมผัสโรค เมื่อฉีดวัคซีน ครบถ้วนตามเกณฑ์แล้วจะมีประสิทธิผลในการป้องกันโรคสูงถึง ร้อยละ 90-95 % จึงควรใส่ใจและเข้ารับการฉีดวัคซีนให้ครบถ้วนตามที่แพทย์กำหนด
“ไวรัสตับอักเสบบี” โรคร้ายที่คุณป้องกันได้ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/177